ประเทศไทยของเราจัดได้ว่า เป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติมากมาย เรามีพืชผักรับประทานที่มีคุณค่าทางสารอาหารครบครัน มีสมุรไพรที่ช่วยรักษาโรค บำรุงร่างกายมากมายหลายชนิด เช่น ฟ้าทะลายโจรที่โด่งดังมาในช่วงที่โควิด 19 ระบาดหนักๆ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสมุนไพรไทยชนิดอื่นกันบ้าง มีชื่อเรียกว่า “กุ่มบก” หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อกันมาบ้างแล้ว แต่สำหรับใครที่ไม่รู้จักและไม่รู้ว่าสมุนไพรนี้มีสรรพคุณอะไรมารู้จักกันค่ะ
กุ่มบกคืออะไร?
กุ่มบกเป็นพืชสมุนไพรลำต้นขนาดใหญ่ พบได้มากในภาคอีสานของประเทศไทยค่ะ นอกจากจะเป็นสมุนไพรแล้ว ยังเป็นต้นไม้มงคลที่มีความเชื่อกันว่า หากปลูกต้นกุ่มบกเอาไว้ในบ้าน จะทำให้ครอบครัวเหนียวแน่น สามัคคี อยู่รวมกันเป็นปึกแผ่นค่ะ คำว่ากุ่ม มาจากคำว่าคุ้ม ซึ่งหมายถึงคุ้มกันโรค คุ้มกันภัยค่ะ จึงเป็นต้นไม้ที่นิยมปลูกกันมาก แต่ต้องระวังอย่าปลูกใกล้ตัวบ้านมากเกินไปนะคะ เพราะกุ่มบกเป็นต้นไม้ใหญ่ แต่มีกิ่งเปราะบางค่ะ อาจหักลงมาได้ถ้าลมแรง
สรรพคุณของกุ่มบก
กุ่มบกจัดเป็นสมุนไพรที่มีรสร้อน ดังนั้นแล้วจึงช่วยรักษาอาการและบำรุงร่างกายได้หลายอย่างเลยค่ะ
1.ใช้ใบของกุ่มบกนำมาโขลก บด ให้ละเอียดเพื่อใช้รักษาอาการ ผื่นแดง ผด โรคผิวหนัง กาก เกลื้อนได้ค่ะ
2.ใบสดน้ำมาตำและผสมกับน้ำซาวข้าว ช่วยรักษาอาการบวมคัน จากพยาธิตัวจี๊ด
3.เปลือกของต้นกุ่มบก มีรสร้อน ช่วยรักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ขับลม กระตุ้มระบบการย่อยอาหารได้ค่ะ
4.ต้มดื่มช่วยบำรุงการไหลเวียนของเลือดได้ค่ะ เพราะเป็นสมุนไพรกลุ่มร้อน นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันการเป็นโรคหัวใจได้อีกด้วย
5.ใช้เป็นส่วนผสมในตำราไทยหลายชนิด ที่ช่วยรักษาอาการปวดหลัง ปวดไหล่ มือเท้าตาย
ข้อระวังในการใช้กุ่มบก กุ่มบกมีกรดไฮดรอไซยานิค ซึ่งเป็นสารพิษ หากต้องการนำมารับประทานต้องทำให้สุกหรือดองก่อนนะคะ
ตอนนี้เราก็รู้จักสมุนไพรที่ชื่อว่ากุ่มบกกันแล้ว เราอาจจะไม่ค่อยได้เห็นทั่วไปเหมือนสมุนไพรชนิดอื่นๆ เพราะส่วนใหญ่แล้วจะเป็นส่วนผสมในยาตำรับไทยกันมากกว่า แต่หากเราอาจใช้กุ่มบกในการรักษาอาการปวดไหล่ ปวดหลังกันอยู่ทุกวันโดยที่เราไม่รู้ตัวก็ได้ค่ะ แต่หากใครอยากหากุ่มบกมาปลูกที่บ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล และไว้รับประทานแก้อาการต่างๆ ก็อย่าลืมทำให้สุกหรือดองก่อนนะคะ หรือปัจจุบันเริ่มมีการนำ กุ่มบก มาแปรรูปให้สามารับประทานง่ายขึ้น เช่น กุ่มบกอบแห้งค่ะ สามารถหาซื้อได้ตามร้านค้าออนไลน์เลย
แหล่งที่มา : https://apps.phar.ubu.ac.th
https://www.technologychaoban.com
อ่านต่อที่ พืชสมุนไพร