เราเชื่อว่าหลายคนคงเคยเห็นกำลังพญาเสือโคร่ง หรือ กำลังพญาเสือโคร่ง ต้นไม้ที่ได้รับฉายาว่าเป็นซากุระเมืองไทย ต้นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีดีมากกว่าความสวยงาม สรรพคุณ เปลือก ใช้อมแก้ปวดฟัน ต้มดื่มบำรุงร่างกาย แก้นิ่ว แก้ไอ แก้เลือดลมไม่ปกติ รักษาอาการปวดเมื่อย ลำต้น ต้มดื่มบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง เจริญอาหาร แก้ปวดเมื่อย วันนี้เราจะมาทำความรู้จัก กำลังพญาเสือโคร่ง กันเพิ่มขึ้น
ทำความรู้จักกำลังพญาเสือโคร่ง
กำลังพญาเสือโคร่ง คนในท่องถิ่นมักมีชื่อเรียกที่แตกต่างออกไป เช่น ชาวเหนือเรียกว่า ฉวีวรรณ ชมพุภูพิงค์ ชาวกระเหรี่ยงเรียกว่า ซากูระดอย จนกลายเป็นที่มาของฉายา ซากูระเมืองไทย กำลังพญาเสือโคร่งเป็นพันธุ์ไม้ ที่มีถิ่นกำเนิดในไทย และเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดน่าน พบขึ้นในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800-1,800 เมตร และพบในบางประเทศของทวีปเอเชีย ยุโรป อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้
ลักษณะของต้นนางพญาเสือโคร่ง
- ต้นกำลังพญาเสือโคร่ง
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่เปลือกไม้สีน้ำตาลเทา หรือเกือบดำ มีต่อมระบายอากาศ ( lenticels)เป็นจุดเล็ก ๆ ขาว ๆ กลมบ้าง รีบ้าง ปะปนกันอยู่ เปลือกมีกลิ่นคล้ายการบูร เวลาแก่จะลอกออกเป็นชั้นคล้ายกระดาษ ที่ยอดอ่อน ก้านใบและช่อดอกมีขนสีเหลืองหรือสีน้ำตาลปกคลุม ขนเหล่านี้จะลดน้อยลง ๆ จนเกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยงเมื่อแก่
- ใบกำลังพญาเสือโคร่ง
มีลักษณะรูปไข่ หรือรูปหอก เนื้อใบบางคล้ายกระดาษหรืออาจหนา ด้านใต้ของใบมีตุ่ม ( gland-datted) โคนใบป้าน หรือเกือบเป็นเส้นตรง ขอบหยักแบบฟันเลื่อยสองชั้น หรือสามชั้น ซี่หนักแหลม ขอบซี่เรียวแหลม เส้นกลางใบเป็นร่องตื้น ๆ หูใบแตกแขนงเป็นรูปคล้ายเขากวางหรือคล้ายเป็นริ้วเล็ก ๆ ใบร่วงได้ง่าย
- ดอกกำลังพญาเสือโคร่ง
ลักษณะเป็นออกเป็นช่อแบบหางกระรอก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบดอกนางพญาเสือโคร่งจะมีหลายเฉดสี ทั้งสีชมพูอ่อน สีชมพูเข้ม สีชมพูแดง สีแดง หรือสีขาว แต่ที่หาได้ยากที่สุดคือสีขาวขอบริ้วประดับจักไม่เป็นระเบียบ กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปกรวยมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปสามเหลี่ยมปลายมน ด้านบนมีขน ด้านในมีเกลี้ยง แต่นอกจากนางพญาเสือโคร่ง ออกดอกระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม และเป็นผลระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธุ์
- ผลกำลังเสือโคร่ง
ผลจะออกในช่วงประมาณเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม โดยผลจะเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปขอบขนาน รูปกระสวย รูปไข่หรือกลม ยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ฉ่ำน้ำ ผิวผลเกลี้ยง ผลสุกเป็นสีแดงแบบลูกเชอร์รี่ มีรสเปรี้ยวมักไม่ได้รับความนิยมมากนักเนื่องจากอาทำให้เกิดอาการท้องเสีย
สรรพคุณของกำลังพญาเสือโคร่ง
- เป็นยาอายุวัฒนะ เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง ช่วยเจริญอาหาร
- แก้ปวดเมื่อยตามร่างกายช่วยบำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง
- ช่วยชำระล้างไตให้สะอาด
- แก้อาการท้องร่วง ยาแก้อาการท้องเสีย
- ใช้บำบัดอาการผู้ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับมดลูกของผู้หญิงไม่สมบูรณ์ มดลูกชอกช้ำอักเสบ แท้งบุตร ช่วยบำรุงเลือด
- ช่วยขับลมในลำไส้
- ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร
- เปลือกต้นกำลังพญาเสือโคร่ง เป็นยาแก้ไอ ลดน้ำมูก แก้อาการคัดจมูก ต้มกับน้ำ ดื่มรักษาอาการหนาวสั่นจากอาการไข้ เป็นยาแก้เลือดกำเดาไหล
- เปลือกต้นใช้ตำคั้นเอาน้ำทาหรือพอกแก้ฟกช้ำ แก้ข้อแพลง ปวด
นอกจากนี้ ต้นกำลังพญาเสือโคร่งยังมีประโยชน์อีกสารพัด อาทิ สามารถนำไปใช้ในการทำเครื่องเรือน การก่อสร้างต่างๆ หรือทำเป็นพื้นนำไปใช้ผสมกับแป้งเพื่อทำเค้กหรือขนมปัง ตลอดจนนำมาทำเป็นกระดาษ และใช้ทำการบูรไว้สำหรับสูดดม ผลของนางพญาเสือโคร่งมีรสเปรี้ยว สามารถนำมารับประทานได้ แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมนัก และไม่ควรรับประทานมากจนเกินไป เพราะอาจทำให้ท้องเสียได้
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการพัฒนาทางเทคโนโลยีวงการแพทย์ได้เดินหน้าไปไกลมากแล้ว การจะใช้สมุนไพรจากกำลังพญาเสือโคร่งมีความจำเป็นที่จะต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ไม่เช่นนั้น อาจจะก่อให้เกิดโทษมากกว่าผลดีก็เป็นได้แม้จะเป็นสมุนไพรที่ได้รับฉายาว่าเป็นยาอายุวัฒนะ แต่ก็ควรฉลาดใช้เพื่อสุขภาพทีดีนั่นเองค่ะ …
ขอบคุณรูปจาก
https://www.gourmetandcuisine.com
อ่านต่อที่ ประเภทของสมุนไพร