ในร่างกายเรานั้น มีพยาธิแอบแฝงอยู่ในร่างกาย เป็นเรื่องปกติ เพราะด้วยอาหารการกินต่าง ๆ นั่นเอง ซึ่ง เป็นปัญหาโลกแตกที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน วันนี้ เลยจะมาบอกสมุนไพร ที่มีสรรพคุณเป็นเหมือน ยาถ่ายพยาธิ ที่เราสามารถทานได้และมีสรรพคุณดี โดยวันนี้จะพาคุณ ๆ มาพบกับ 7 สมุนไพรถ่ายพยาธิ หาได้ง่ายใช้ได้จริง ตามมาดูกันเลยค่ะ
1.มะเกลือ
ส่วนที่ใช้ : ผลมะเกลือสด โตเต็มที่และสีเขียวจัด (ห้ามใช้ผลสุกสีเหลืองหรือผลสีดำ)
สรรพคุณ :
ผลมะเกลือสดและเขียวจัด – เป็นสมุนไพรถ่ายพยาธิ ที่ดีที่สุดในการถ่ายพยาธิ กำจัดตัวตืด หรือไส้เดือนตัวกลม พยาธิปากขอ พยาธิเข็มหมุด
วิธีและปริมาณที่ใช้
ผลสดโตเต็มที่และเขียวจัด ตำใส่กะทิ คั้นเอาแต่น้ำกะทิ ช่วยกลบรสเฝื่อน ควรรับประทานขณะท้องว่าง ถ้า 3 ชั่วโมงแล้วยังไม่ถ่ายใช้ยาระบาย เช่น ดีเกลือ 2 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำดื่มตามลงไป
ข้อควรระวัง
สมุนไพรถ่ายพยาธิ ชนิดนี้ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำว่า 10 ขวบ หญิงตั้งครรภ์ หรือหลังคลอดใหม่ๆ และผู้ป่วยในโรคอื่นๆระวังอย่าให้เกินขนาด ถ้าเกิดอาการท้องเดินหลายๆ ครั้ง และมีอาการตามัวให้รีบพาไปพบแพทย์ ใช้ผลดิบสด ๆ ซึ่งมีสีเขียวล้างให้สะอาดนำ มาตำให้แหลกกรองเอาเฉพาะน้ำ ผสมหัวกะทิประมาณ 2 ช้อนชา ต่อมะเกลือ 1 ผล รับประทานครั้งเดียวให้หมดและทานเมื่อเตรียมเสร็จใหม่ ๆ บางคนนิยมผสมน้ำตาลกับเกลือเล็กน้อยจะทำให้ทานง่ายขึ้น ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิปากขอ พยาธิตัวตืด พยาธิเส้นด้าย และพยาธิตัวกลม แต่จะให้ผลดีที่สุดกับพยาธิปากขอ
2. มะขาม
ส่วนที่ใช้ : เมล็ดในที่กะเทาะเปลือกออกแล้ว (ต้องคั่วก่อน จึงกะเทาะเปลือกออก)
สรรพคุณ : เมล็ด – สำหรับการถ่ายพยาธิตัวกลม พยาธิเส้นด้าย
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
- เป็นสมุนไพรถ่ายพยาธิ ที่ใช้เมล็ดในที่มีสีขาวต้มกับน้ำใส่เกลือเล็กน้อย รับประทานเนื้อทั้งหมด 1 ครั้ง หรือคั่วให้เนื้อในเหลือง กะเทาะเปลือกเคี้ยวรับประทานเช่น ใช้ขับพยาธิไส้เดือนและพยาธิเส้นด้ายในเด็ก
3. มะหาด
ส่วนที่ใช้ : แก่นต้นมะหาด
สรรพคุณ : แก่น – ใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด และพยาธิไส้เดือน ละลายกับน้ำ ทาแก้ผื่นคัน
แก่นเนื้อไม้ – เป็นยาระบาย ถ่ายพยาธิไส้เดือนตัวกลม ถ่ายพยาธิเส้นด้าย ถ่ายพยาธิตัวตืด ขับเลือด แก้ลม ถ่ายพยาธิตัวแบน แก้กระษัย แก้ท้องผูกไม่ถ่าย
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
สมุนไพรถ่ายพยาธิ แก่นมะหาดมาต้มจนเกิดฟองขึ้น แล้วช้อนฟองขึ้นมาตากแห้ง นำมาบดให้เป็นผงละเอียด ขนาดรับประทานครั้งละ ประมาณ 3-5 กรัม รับประทานกับน้ำสุกเย็น ก่อนอาหารเช้า เพื่อระบายท้อง จะถ่ายพยาธิตัวตืดและพยาธิไส้เดือนออกหมด
สำหรับผู้ถ่ายพยาธิตัวตืด
- สำหรับเด็ก ใช้ยาครึ่งช้อนโต๊ะ ละลายในน้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ รับประทานครั้งเดียว อีก 2 ชั่วโมงต่อมาจึงรบประทานยาถ่ายตาม สำหรับคนโตหรือผู้ใหญ่ให้ใช้ผงมะหาด 1 ช้อนโต๊ะ ละลายในน้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ รับประทานครั้งเดียว อีก 2 ชั่วโมงต่อมาให้รับประทานยาถ่ายตาม
อาการข้างเคียง
ผู้ป่วยบางราย มีอาการแพ้สมุนไพรถ่ายพยาธิ ชนิดนี้จะมีผื่นคันขึ้นทั้งตัว หน้าแดง ผิวหนังแดง คัน ตาแดง มีไข้ อาการจะหายไปภายใน 1-2 วัน
ข้อควรระวัง : ห้ามรับประทานสมุนไพรถ่ายพยาธิ ผงปวกหาดกับน้ำร้อน จะทำให้คลื่นไส้อาเจียนได้
4. มะเฟือง
ส่วนที่ใช้ : ดอก ใบ ผล ราก
สรรพคุณ :
- ดอก – ขับพยาธิ
- ใบ, ผล – ทำยาต้ม ทำให้หยุดอาเจียน
- ผล
– มี oxalic ทำให้เลือดจับเป็นก้อน
– ระบาย
– แก้เลือดออกตามไรฟัน
– แก้บิด ขับน้ำลาย ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว
– ลดอาการอักเสบ - ใบและราก – เป็นยาเย็น เป็นยาดับพิษร้อน แก้ไข้ ถอนพิษไข้
5. เล็บมือนาง
ส่วนที่ใช้ : ราก เมล็ดในของผลเล็บมือนางที่แก่แห้ง
สรรพคุณ :
ราก – ใช้ถ่ายพยาธิ รักษาตานซาง
เมล็ด – ใช้เป็นยาขับพยาธิตัวกลม, พยาธิเส้นด้ายในเด็ก
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ให้นำเมล็ดในของผลเล็บมือนางที่แก่และแห้งประมาณ 4-6 กรัม มาหั่นแล้วทอดกับไข่ให้เด็กอายุประมาณ 5-6 ขวบจะช่วยให้รับประทานได้ง่ายสำหรับช่วยในการขับถ่ายพยาธิไส้เดือนตัวกลม สำหรับผู้ใหญ่ ก็ให้ใช้ 5-7 เมล็ด ทุบพอแตก ต้มเอาน้ำดื่ม หรือหั่นทอดกับไข่รับประทาน
ข้อควรระวัง : ถ้าใช้สมุนไพรถ่ายพยาธิชนิดนี้มากเกินขนาด จะทำให้อาเจียน มึนงง อ่อนเพลีย
6. ทับทิม
ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้นและเปลือกราก
สรรพคุณ : เปลือกต้นและเปลือกราก ใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด , พยาธิตัวกลม
วิธีและปริมาณที่ใช้
ให้นำเปลือกสดของรากของต้นทับทิมที่เก็บใหม่ ๆ ประมาณ 1/2 กำมือ เติมกานพลูหรือกระวานลงไปเล็กน้อย เพื่อแต่งรส ต้มกับน้ำ 3 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ หลังจากนั้นประมาณ 2 ชั่วโมง รับประทานยาถ่าย เช่น ดีเกลือ 2 ช้อนโต๊ะตาม ถ้าจะทานสมุนไพรถ่ายพยาธินี้ ควรอดอาหารก่อนรับประทานยา
7. แก้ว
ส่วนที่ใช้ ใบ : เก็บได้ตลอดปี ใช้สดหรือตากแห้งเก็บไว้ใช้
สรรพคุณ ใบ : รสเผ็ด สุขุม ขม ใช้เป็นยาชาระงับปวด แก้ผื่นคันที่เกิดจากชื้น แก้แผลเจ็บปวดเกิดจากการกระทบกระแทก ต้มอมบ้วนปาก แก้ปวดฟัน ขับพยาธิตัวตืด แก้บิด แก้ท้องเสีย
วิธีใช้และปริมาณที่ใช้
สำหรับการรับประทานเพื่อขับพยาธิตัวตืด แก้บิด แก้ท้องเสียนั้นให้ ใช้ก้านและใบสดประมาณ10 -15 กรัมหรือประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานวันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้า-เย็น
นอกจากสมุนไพรที่กล่าวมา ยังมี สมุนไพรถ่ายพยาธิ อีกหลายชนิดที่สามารถนำมาทำเป็นยาขับพยาธิได้อีก เช่น ตานหม่อน มะขามป้อม มะระไทย เล็บมือนาง กระเทียม ทับทิม หมาก เห็ดจิก ฯลฯ แต่อย่างไรก็ควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสม อีกทั้งหากมีโรคประจำตัวก็แนะนำว่าควรที่จะปรึกษาแพทย์ก่อนนะคะ เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพที่ดี
ขอบคุณรูปจาก
https://www.gourmetandcuisine.com
https://www.technologychaoban.com
อ่านต่อที่ ประเภทของสมุนไพร