เปล้าน้อย สมุนไพรไทยอีกหนึ่งชนิดที่ได้รับการยอมรับถึงสพรรคุณทางยาจนถูกญี่ปุ่นนำไปจดสิทธิบัตรและผลิตเป็นยารักษาโรคกระเพาะ ตั้งแต่ปี 2527 และนี่คืออีกหนึ่งต้นไม้ที่เป็นสมุนไพรไทยมาด้วยคุณค่าที่น่าสนใจ และเชื่อว่าหลายคนอาจไม่เคยรู้จัก กับต้นเปล้าน้อย วันนี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จัก และทราบถึงสรรพคุณของเปล้าน้อยกัน
ทำความรู้จักกับเปล้าน้อย
เปล้าน้อย ชื่ออื่นๆ / ชื่อท้องถิ่น เปล้าท่าโพ (ภาคอีสาน) เปล้าน้อยเป็นไม้ประจำถิ่นทวีปเอเชีย เขตร้อน พบขึ้นกระจายในประเทศพม่ารวมถึงป่าชายหาดบางพื้น ในประเทศไทยพบได้มากในหลายจังหวัด เช่น สุรินทร์ , อุบลราชธานี , นครพนม , กาญจนบุรี ปราจีนบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเปล้าน้อยนี้เป็นพืชที่เจริญได้ดีในพื้นที่ที่เป็นดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี โดยออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มิถุนายน และเริ่มติดผลในเดือน มีนาคม – สิงหาคม
ลักษณะของเปล้าน้อย
ต้นเปล้าน้อย
ต้นเปล้าน้อย เป็นไม้พุ่มผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 1-4 เมตร เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลปนเทา ผิวค่อนข้างเรียบและสามารถพบได้ตามป่าเบญจพรรณ โดยจะเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อน ในพื้นดินร่วนปนทรายที่ระบายน้ำได้ดี เช่น ในจังหวัดปราจีนบุรี นครพนม กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น
ใบเปล้าน้อย
ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกรียาวเป็นใบเดี่ยวจะเรียงสลับกัน โดยใบจะมีความยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเรียว แผ่นใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม เมื่อใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีส้ม ส่วนขอบใบเป็นจักคล้ายซี่ฟัน
ดอกเปล้าน้อย
ต้นเปล้าน้อยนั้นจะออกดอกเป็นช่อซึ่งมีขนาดช่อเล็กซึ่งในช่อจะมีดอกย่อยมีขนาดเล็ก เป็นแบบแยกเพศแต่อยู่ในช่อเดียวกัน กลีบดอกเป็นเส้นเมื่อบานแล้วจะโค้งไปด้านหลัง โดยกลีบดอกมีประมาณ 10-15 กลีบ มีสีขาวนวล
ผลเปล้าน้อย
เป็นรูปทรงค่อนข้างกลม เปลือกผลเมื่อแห้งมีสีน้ำตาลและแตกได้ง่าย แบ่งออกเป็นพู 3 พู มีรอยกลีบเลี้ยงติดอยู่ที่ก้นผล ในแต่ละพูจะมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด เมล็ดมีสีน้ำตาลผิวเรียบ มีลายเส้นตามแนวยาวสีขาวหนึ่งเส้น มี โดยผลจะพัฒนาจนแก่จัดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนมีนาคม
การขยายพันธุ์
จะนิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหรือรากไหลเนื่องจากจะได้พันธุ์แท้ แต่ถ้าเพาะจากเมล็ดอาจจะกลายพันธุ์ได้
สรรพคุณทางยาของเปล้าน้อย
- ช่วยแก้เลือดร้อน
- ใบ,แก่น,ดอก,เปลือก ช่วยรักษาอาการไอ ช่วยขับเสมหะ
- รากมีรสร้อน สรรพคุณช่วยกระจายลม ช่วยแก้ลมขึ้นเบื้องบนให้หายเป็นปกติ
- เปลือกต้นมีรสร้อน ช่วยในการย่อยอาหาร
- เปลือกและใบช่วยรักษาโรคท้องเสีย
- ใบรากใช้ต้มกับน้ำดื่มขณะอุ่นใช้เป็นยารักษาแผลในกระเพาะอาหารและในลำไส้ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีสาร เปลาโนทอล ที่มีฤทธิ์ลดปริมาณการหลั่งของกรดในกระเพาะน้อยลง และทำให้ระบบป้องกันการดูดซับกรดของเนื้อเยื่อบุกระเพาะที่ถูกทำลายจากสาร บางชนิด ให้กลับคืนปกติ อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อบุในลำไส้ที่เสียไป ทำให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้นขึ้น และมีฤทธิ์ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหารและในลำไส้ได้เป็นอย่างดี โดยสารชนิดนี้ควรใช้ครั้งละ 80 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ จะทำให้อาการดีขึ้นถึง 80-90% แต่อาจมีอาการค้างเขียงบ้าง แต่ก็น้อยรายนัก และมีความเป็นพิษต่ำ คือ อาจมีอาการท้องเสีย ท้องร่วง แน่นท้อง ท้องผูก มีผื่นขึ้น
- ใบ,รากช่วยแก้ริดสีดวงทวาร
- ใบ,เปลือกและใบช่วยบำรุงโลหิตประจำเดือนของสตรี ลูกใช้ดองสุรากินเป็นยาขับโลหิตระดูในเรือนไฟ
- ใบ,แก่น,ดอก,เปลือกช่วยรักษาแผล สมานแผล ช่วยแก้โรคน้ำเหลืองเสียช่วยแก้อาการคันตามตัวช่วยรักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน
- ผลมีรสร้อน ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับหนองให้กระจาย ช่วยขับเลือดหนองให้ตก
ประโยชน์ของเปล้าน้อย
- ใบเปล้าน้อยสามารถใช้รับประทานเป็นอาหารได้ ด้วยการรับประทานร่วมกับน้ำพริก หรือจะใช้ใบสดนำมาชงเป็นชาสมุนไพรดื่มก็ได้เช่นกันใบเปล้าน้อยมีรสขมมาก
- สมุนไพรเปล้าน้อย ใบและรากสามารถนำมาทำเป็นยาปฏิชีวนะได้ โดยใบเปล้าน้อยสามารถนำไปสกัดเป็นยารักษาโรคกระเพาะ โดยจะเริ่มเก็บใบได้เมื่อต้นมีอายุ 2 ปีขึ้นไป นำมาผึ่งในร่มจนแห้ง แล้วนำไปบรรจุในภาชนะส่งโรงงาน เพื่อใช้ผลิตเป็นยาเปลาโนทอลในรูปเม็ดสำเร็จ แบบซอง หรือแบบแคปซูลซึ่งแพทย์จะเป็นผู้สั่งจ่าย
เปล้าน้อย สมุนไพรไทย ที่ชื่อไม่คุ้นหู แต่มากด้วยสรรพคุณทางยาจนลือเรื่องถึงต่างแดน เป็นอีกหนึ่งต้นไม้ที่เป็นที่เป็นที่น่าสนใจไม่น้อย สำหรับใครที่ชื่นชอบการปลูกต้นไม้ที่เป็นทั้งไม้ประดับบ้านและยังเป็นประโยชน์ก็สามารถหามาปลูกได้นะคะ ต้นไม้ชื่อแปลก อย่างเปล้าน้อย ก็เป็นอีกหนึ่งต้นที่น่าจะต้องจัดไว้ในลิตส์คนรักต้นไม้เลยค่ะ
อ่านบทความ เหงือกปลาหมอ ชื่อนี้แหละสรรพคุณเยอะ