นางแย้ม นั้นเป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งที่หลายคนอาจเคยเห็น และหลงเสน่ห์ของความหอม ไม้ดอกหอมชนิดหนึ่งที่ถูกนำไปรวมไว้ในบทเพลงชมสวนฟังแล้วต้องยอมรับว่าผู้แต่งเก่งมาก สามารถเรียงร้อยไม้ดอกหอมหลากหลายชนิดออกมาเป็นบทเพลงได้ไพเราะเสนาะหูปัจจุบันคนรุ่นใหม่น้อยคนนักจะรู้จัก เพราะค่านิยมในการปลูก “นางแย้ม” ได้ลดน้อยลงตามกาลเวลาจึงไม่พบเห็นนักวันนี้จึงจะพาคุณมารู้จักกับดอกนางแย้มกัน
ถิ่นกำเนิด
สำหรับถิ่นกำเนิดของต้นนางแย้มนั้น เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย ที่เกาะชวาและเกาะสุมาตรา ส่วนนางแย้มที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยนั้นคือต้น “นางแย้มป่า” (Clerodendrum infortunatum L.)
ลักษณะของนางแย้ม
ต้นนางแย้ม
มีลักษณะต้นเป็นไม้พุ่มที่มีลำต้นไม่สูงมีความสูงประมาณ 1.-1.5 เมตร ลำต้นตรงและมีขนปกคลุมเล็กน้อย เนื้อไม้อ่อน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการขุดต้นอ่อนที่เกิดจากรากที่อยู่ใกล้ผิวดิน (เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด) หรือใช้วิธีการตอนกิ่งและการปักชำกิ่ง สามารถพบได้มากตามป่าดิบและป่าเบญจพรรณ หรือที่ร่มรำไรที่มีความชื้นสูงและมีดินร่วนซุย นักวิชาการเชื่อว่าต้นนางแย้มนั้นมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย ที่เกาะชวาและเกาะสุมาตรา ส่วนนางแย้มที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยนั้นคือต้น “นางแย้มป่า” (Clerodendrum infortunatum L.)
ใบนางแย้ม
ลักษณะของใบคล้ายใบโพธิ์ หรือรูปไข่กว้างคล้ายรูปหัวใจ ขนาดใบกว้างประมาณ 8-14 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 15-17 เซนติเมตร ผิวใบมีขนละเอียดปกคลุมอยู่ทั้งสองด้าน ผิวใบสากระคายมือ ตรงปลายแหลมแต่ไม่มีติ่ง ขอบใบหยัก รอบใบเป็นฟันเลื่อยห่าง ๆ เมื่อเด็ดใบแล้วนำมาขยี้จะมีกลิ่นเฉพาะ
ดอกนางแย้ม
ดอกมีลักษะเป็นดอกเล็ก ๆ ดอกมีเกสรตัวผู้ 4 ก้าน ส่วนเกสรตัวเมียมี 1 ก้าน เมื่อผลแก่จะแตกออกเป็น 4 ก้าน จะเบียดเสียดติดกันแน่นรวมกันเป็นช่อ เจอได้ตามยอดและปลายกิ่ง หนึ่งช่อดอกจะกว้างประมาณ 10-12 เซนติเมตร เมื่อบานเต็มที่จะกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร สีของดอกนั้นมีสีขาว แล้วจะค่อยๆ เปลี่ยนสีเป็นสีชมพู สีม่วงแดงสลับขาว ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงสีม่วงแดงเป็นหลอดสั้น ๆ ปลายแยกเป็น 5-6 แฉก กลีบเลี้ยงมีสีม่วงแดง ดอกย่อยจะบานไม่พร้อมกัน ดอกด้านบนจะบานก่อนดอกด้านล่าง เมื่อดอกบานมีกลิ่นหอมมากทั้งในเวลาวันและกลางคืนจะอยู่ได้นานหลายวันเลยคะชื่นใจและสดชื่นกันยาว ๆไปเลยคะ แถมดอกยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี
สรรพคุณของนางแย้ม
- ราก
- มีสพรรคุณที่ช่วยในการบำรุงประสาท
- ช่วยลดความดันโลหิตสูง
- ช่วยรักษาลำไส้อักเสบช่วยแก้ริดสีดวงทวาร ดากโผล่
- สำหรับคนที่มีปัญหาปัสสาวะขัดรากของต้นนางแย้มสามารถขับปัสสาวะ และแก้ปัสสาวะขุ่นเหลืองแดงได้
- ช่วยขับระดูขาวของสตรี
- ช่วยแก้ไตพิการ
- รากใช้ฝนกับน้ำปูนใสใช้ทารักษาเริมและงูสวัด
- ช่วยแก้อาการเหน็บชา ปวดขา ใช้ตุ๋นกับไก่ รับประทานติดต่อกัน 2-3 วัน
- ช่วยแก้เหน็บชาที่มีอาการช้ำบวม
- ช่วยแก้อาการปวดข้อและปวดเอว นำมาต้มกับน้ำดื่ม
- ใบ
- ช่วยแก้หลอดลมอักเสบ
- ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ผดผื่นคัน ด้วยการใช้ใบสดจำนวนพอสมควรต้มกับน้ำ ใช้ชะล้างบริเวณที่เป็น cยังสามารถใช้ประคบช่วยรักษาไขข้ออักเสบได้
ข้อควรรู้และข้อควรระวังในการใช้ !
สำหรับบางรายที่ใช้รากและใบของ นางแย้ม ในการรักษาอาการต่าง ๆ อาจจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้ หรืออาจเกิดอาการแพ้ได้นะคะ รวมถึงสำหรับผู้ที่มีโรงคประจำตัว ถ้าใช้ควบคู่กับการรักษาแนะนำว่าควรปรึกษาแพทย์ก่อนจะดีที่สุดคะ
สรุป
นางแย้ม นิยมปลูกไว้เป็นไม้ประดับเพื่อความสวยงาม มีกลิ่นหอมทั้งกลางวันและกลางคืน และสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี ชาวไทยสมัยก่อนนิยมนำดอกนางแย้มไปใช้เป็นเครื่องบูชาพระดอกไม้ที่ไม่ได้มีดีแค่รูปสวย กลิ่นหอม แต่ นางแย้ม ชื่อนี้ยังรักษาโรคได้หลายโรค อีกด้วย สำหรับใครที่ชื่นชอบไม้ประดับที่มีกลิ่นหอม และดอกสวย บอกได้เลยว่า ตัวเลือกหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม ก็คือต้นนางแย้มนี่แหละค่ะ
อ่านบทความ โสมเกาหลี สรรพคุณบำรุงร่างกายที่ไม่ได้เหมาะแค่กับคนแก่