มีสมุนไพรอีกหลายชนิดที่หลายคนคงไม่คุ้นเคย ด้วยความที่ไม่ได้เป็นไม้ดอกหรือไม้ที่ให้ความสวยงาม แต่หากมองในด้านการให้สีสันบวกกับสรรพคุณที่มากมายแล้ว ทำให้ทุกคนคงต้องทำความรู้จักกับสมุนไพรชนิดนี้ให้มากขึ้น อย่างฝาง(ฝางเสน) ที่จะช่วยเพิ่มความสวยงามละความสดชื่นให้กับผู้พบเห็นด้วยสีสันที่สดใส จึงทำให้สมุนไพรชนิดนี้ได้รับการกล่าวถึงอยู่บ่อยๆ กระทั่งมีการคิดค้น พัฒนาฝาง(ฝางเสน) กันอย่างแพร่หลายเพื่อให้เกิดประโยชน์ทางยาและยังเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับคนในท้องถิ่นด้วย
ข้อมูลทั่วไป
ฝางต้นไม้ชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณทางการรักษาโรค ในประเทศไทยพบ 2 สายพันธุ์ คือ ฝางเสนและฝางส้ม แต่ในที่นี้จะกล่าวเพียง ลักษณะ สรรพคุณ ประโยชน์และข้อควรระวังของฝาง(ฝางเสน) เท่านั้น ซึ่งฝางเสนแก่นใบจะมีสีแดงเข้ม และลักษณะอื่นๆ มีลักษณะดังต่อไปนี้
ฝาง( Sappan Tree ) มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Caesalpinia Sappan L. เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางทรงพุ่ม เปลือกไม้ขรุขระมีหนามกระจายอยู่ทั้งต้นและกิ่ง สีเทาอมเขียว เนื้อไม้สีแดงเข้ม หากเป็นฝางเสน
ใบ มีลักษณะ คือ พุ่มใบโปร่ง รูปใบประกอบคล้ายใบมะขามแต่ช่อใบยาวกว่า ใบย่อยผิวเรียบลื่น ขอบใบขนานตัดปลายเป็นเส้นโค้ง เนื้อใบบางหลุดร่วงง่าย หากเป็นฝางที่มีอายุมากบริเวณใบจะมีขนบางๆ
ดอก ดอกเป็นช่อขนาด 1 -2 เซนติเมตร กลีบดอกเป็นสีเหลืองสด แซมด้วยสีส้มที่กลางดอก เกสรมีก้านยาวและมีเมล็ดกลมสีดำ หรือสีน้ำตาลเข้มติดปลายก้าน
ผล ออกผลเป็นฝักแบนค่อนข้างแข็ง ปลายล่างสุดมีจงอยยื่นออกมาชัดเจน เปลือกสีเขียวสด และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมแดงเมื่อแก่ เมล็ดเป็นรูปวงรี
วิธีการปลูกฝาง
เมื่อทราบเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของฝางแล้ว การเรียนรู้วิธีการปลูกฝางก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เราสามารถเลือกพันธุ์ไม้ที่ดีมีประโยชน์มาปลูกในบ้านได้ ซึ่งการปลูกฝาง มีวิธีปลูก ดังต่อไปนี้
การขยายพันธุ์
ฝางมีการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดด้วยการนำเมล็ดแก่มาแช่น้ำ เพื่อให้ได้ต้นอ่อน ใช้เวลาประมาณ 10 วัน เมื่อต้นกล้าสูง 10 – 20 เซนติเมตร ให้ขุดหลุมห่างกันอย่างน้อย 4 เมตร หลุมลึก 50 เซนติเมตร โดยรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกกับขุยมะพร้าว แล้วจึงนำต้นกล้าลงดินกลบหน้าดินให้เรียบร้อย คลุมโคนต้นด้วยฟางแล้วปักไม้พยุงต้นกล้าไว้ แล้วรดน้ำให้ชุมรอบโคนต้น
วิธีการดูแลรักษา
ฝาง( ฝางเสน ) เป็นต้นไม้ที่ชอบแดด ดั้งนั้นควรเลือกปลูกในตำแหน่งที่บริเวณนั้นได้รับแสงทั้งวัน ช่วงแรกรดน้ำสัปดาห์ละ 3 – 4 ครั้ง แล้วลดการให้น้ำเมื่อเจริญเติบโต ฝางชอบดินร่วนซุย ใส่ปุ๋ยครั้งแรกบริเวณก้นหลุมและใส่ปุ๋ยครั้งต่อไปเมื่อผ่านไปแล้ว 6 เดือน
สรรพคุณและประโยชน์ของฝาง
วิธีการปลูกฝาง( ฝางเสน ) เมื่อได้ศึกษาแล้วจะพบว่าฝาง เป็นพืชที่ต้องการแสงแดดและดินที่มีความร่วนซุยเป็นพิเศษ เพราะสามารถเจริญเติบโตได้ดี ทั้งนี้ควรศึกษาเกี่ยวกับสรรพคุณและประโยชน์ต่างๆของฝางด้วย ซึ่งมีสรรพคุณ ดังต่อไปนี้
1 ใช้บรรเทาอาการวัณโรค
2 ใช้เป็นส่วนผสมในยาบำรุงสตรีหลังคลอดบุตร
3 ใช้เป็นยาแก้ปัญหาเกี่ยวกับระบบลำไส้ต่างๆ เช่น ท้องร่วง ท้องเสีย และใช้เป็นยาระบาย
4 ใช้เป็นยาขับระดู
5 ใช้เป็นยาแก้ร้อนใน
6 ใช้เป็นยาแก้เลือดออกทางทวารหนักและทวาเบา
7 ใช้เป็นยาแก้อาการเสมหะ
8 ใช้เป็นยาแก้เลือดอุดตัน
9 ใช้เป็นยารักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ
10 ใช้เป็นยาแก้อาการหัวใจขาดเลือด
11 ใช้เป็นยาแก้จุกเสียด แน่นหน้าอก
12 ใช้เป็นยาแก้ฟกช้ำ
13 ใช้เป็นยาแก้ปวดเมื่อย
14 ใช้เป็นยาขับหนอง
15 ใช้เป็นยาแก้อาการเลือดกำเดาไหล
16 ใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนังบางชนิด
ประโยชน์ของฝาง
สรรพคุณต่างๆเหล่านี้จะช่วยให้คุณรัก ฝาง(ฝางเสน) มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ฝางยังมีประโยชน์ดังต่อไปนี้
1 ใช้เป็นสีผสมอาหาร
2 นำมาทำเป็นผงชงดื่ม
3 นำมาใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง เช่น แป้ง ครีม เจล โลชัน
4 นำมาใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ เช่น การย้อมผ้า
5 ใช้เป็นยาต้านเชื้อแบคทีเรีย
6 ใช้เป็นยาขยายหลอดเลือด
7 ใช้เป็นยาลดน้ำตาลในเลือด
ข้อควรระวังของการใช้ประโยชน์จากฝาง
การใช้ประโยชน์จาก ฝาง(ฝางเสน) เป็นวงกว้างส่งผลให้มีการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับการสกัดสิ่งที่เป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น และเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสมุนไพร นอกจากนี้การนำฝางมาใช้ประโยชน์ มีข้อควรระวัง ดังนี้
1 สตรีมีครรภ์ไม่ควรทาน
2 ผู้ที่มีปัญหาหลอดเลือดอุดตันไม่ควรใช้
3 ไม่ควรใช้ติดต่อกันนานเกินไป
เมื่อทราบเกี่ยวกับข้อควรระวัง ควรปฏิบัติตาม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพได้
ฝาง(ฝางเสน) เป็นหนึ่งในสมุนไพรที่สามารถเพิ่มสีสันให้กับอาหาร และยังเป็นตัวช่วยในการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ได้อีกด้วย ในบางอุตสาหกรรม ดังนั้นการปลูก ฝาง(ฝางเสน) ให้ดีมีคุณภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งนี้ควรคำนึงถึงวิธีการปลูก การดูแล การนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดด้วย
เครดิตภาพ : www.shutterstok.com
อ่านต่อที่ พืชสมุนไพร