สมุนไพรแต่ละต้น แต่ละพันธุ์นั้นล้วนมีคุณค่าและประโยชน์ที่แตกต่างกันเฉพาะด้าน ตามสรรพคุณที่เป็นจุดเด่นของสมุนไพรนั้นๆ สรรพคุณและจุดเด่นที่ว่านั้น ได้แก่ สมุนไพรเป็นยารักษาโรคเพื่อบำบัดโรค นอกจากนี้ยังรวมถึงสรรพคุณทางการให้กลิ่นหอมอบอวลของสมุนไพรบางชนิดด้วย เช่น การบูร ที่มีกลิ่นเฉพาะ โดยทั้งต้นจะมีกลิ่นกระจายอยู่ทั่วไป แต่ก่อนที่จะทราบเกี่ยวกับสรรพคุณและคุณประโยชน์ของ การบูร นั้น ควรศึกษาเกี่ยวกับลักษณะโดยทั่วไปของสมุนไพรนี้ก่อน ดังรายละเอียดที่จะกล่าวต่อไป
ข้อมูลทั่วไป
ใครจะทราบได้ว่า การบูร คือ ต้นไม้ที่มีสรรพคุณโดเด่นเรื่องการให้กลิ่นหอม ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะของต้นไม้ชนิดนี้เลยก็ว่าได้ แต่ลักษณะโดยรวมของการบูรจะเป็นอย่างไรบ้างนั้น มาศึกษารายละเอียดต่างๆ กันได้เลย
ลักษณะของต้นการบูร มีดังนี้
การบูร ( Camphor หรือ Menthol ) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Cinnamumun camphora เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 9 เมตร ส่งกลิ่นหอมทั้งต้นโดยเฉพาะบริเวณรากกับโคนจะมีกลิ่นหอมเป็นพิเศษ
ใบเดี่ยว เรียงสลับเป็นรูปไข่หรือรูปรี กว้าง 2 – 7 เซนติเมตร ยาว 5 -11 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม ยอดอ่อนมีใบสีเหลืองปนน้ำตาลหุ้มอยู่ บริเวณใบจะมีกลิ่นหอมอ่อนๆ
ดอกออกเป็นช่อแยกแขนง ออกเป็นกระจุกอยู่ตามง่ามใบ ดอกมีขนาดเล็กสีขาวเหลืองการบูร จะมีดอกช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม
ผลกลมสีเขียวเข้มและจะเปลี่ยนเป็นสีดำเมื่อสุก ผลมีเมล็ด 1 เมล็ด
อนึ่ง เกล็ดการบูร สีขาว หรือที่เรียกว่า ผงการบูร มีลักษณะเป็นเม็ดกลม สีขาว แห้ง ที่เราทุกคนคงผ่านตากันมาบ้างนั้น จะเป็นผลึกแทรกอยู่บริเวณเนื้อไม้ตามลำต้นช่วงรอยแตกของเนื้อไม้ และยังมีทั่วทั้งต้น โดยอยู่ในส่วนแก่นของรากและแก่นของต้น ส่วนมากพบบริเวณใกล้กับโคนต้น
สรรพคุณและประโยชน์ของการบูร
สมุนไพรทุกชนิดมีประโยชน์ ยิ่งเป็นการบูร ด้วยแล้ว รับรองได้อย่างแน่นอนว่ามีประโยชน์เรื่องการเพิ่มความหอมของกลิ่นที่ซ่อนอยู่ในเนื้อไม้แทรกเข้ามาด้วย สำหรับสรรพคุณสมุนไพรที่ว่านี้ มีดังต่อไปนี้
1 ส่วนประกอบที่ผสมในยาเลือดงามและยาประสะไหล ซึ่งการบูรเป็นหนึ่งในส่วนผสมผสานเข้ากับสมุนไพรชนิดอื่น ช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้
2 ช่วยบรรเทาอาการปวดฟัน ด้วยการนำการบูรอุดฟัน ปัจจุบันสมุนไพรชนิดนี้ก็ยังคงเป็นส่วนผสมในยาสีฟันบางตัวด้วย
3 ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย
4 ช่วยต้านอาการอักเสบ
5 ช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง รักษาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
6 ช่วยขับลม ขับเสมหะ
7 บรรเทาอาการเคล็ดขัดยอกหรือบรรเทาอาการปวดตามเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ รวมถึงอาการมือ เท้า ชา หรือตึง
8 ช่วยลดอาการปวดบวมเนื่องจากแมลงสัตว์กัดต่อย โดยใช้ยาหม่อง ซึ่งในยาหม่องมีการบูรผสมอยู่
9 บรรเทาอาการหน้ามืด
นอกจากสรรพคุณทั้ง 9 ประการแล้วการบูร ยังมีประโยชน์หลายอย่างในชีวิตประจำวัน ดังต่อไปนี้
1 สามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยได้ โดยใช้ส่วนเปลือกรากและกิ่ง
2 สามารถนำมาวางในบ้านช่วยไล่ยุงและแมลงได้
3 สามารถนำมาผสมกับยาหอมต่างๆเพื่อให้มีสรรพคุณทางการรักษาและบรรเทาโรคได้ดียิ่งขึ้น เช่น ช่วยขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ แก้ไข้หวัด คัดจมูก และมีส่วนช่วยในการใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ
จากสรรพคุณและประโยชน์ต่างๆ ดังกล่าวนี้ จึงกล่าวได้ว่าการบูร เป็นสมุนไพรที่สามารถนำมาผสมกับตัวยาอื่นแล้วเกิดเป็นยาตัวใหม่ที่มีฤทธิ์ทางการรักษาโรคอย่างน่าทึ่งไม่แพ้สมุนไพรชนิดอื่น อีกทั้งยังมีกลิ่นที่ช่วยบำบัดโรคได้ นอกจากนี้ด้วยกลิ่นที่หอมจึงมีการนำผงการบูรมาใส่ในตู้เสื้อผ้าเพื่อดับกลิ่นต่างๆภายในตู้เสื้อผ้า
เมื่อทราบเกี่ยวกับสรรพคุณของการบูรแล้ว สิ่งหนึ่งที่จะต้องคำนึงถึง คือ ข้อควรระวังของการใช้การบูรซึ่งมีดังต่อไปนี้
- หากจำเป็นต้องทานการบูรไม่ควรทานขนาด 3.5 กรัม เนื่องจากอาจทำให้เสียชีวิตได้
- การรับประทานเกินวันละ 2 กรัม อาจทำให้หมดสติ
- หากทานมากเกินความต้องการของร่างกายอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ เช่น ส่งผลต่อระบบทางเดินอาหาร อาจส่งผลให้สมองทำงานบกพร่อง และอาจทำให้คลื่นไส้อาเจียนและเวียนศรีษะได้
การบูร ถือเป็นอีกหนึ่งสมุนไพรที่มีประโยชน์หลากหลาย สามารถเข้ากันได้ดีกับสมุนไพรทุกรูปแบบ ทุกชนิด และด้วยประโยชน์ที่มีคุณค่ามหาศาล การใช้ประโยชน์จากการบูร ได้รับความนิยมมาโดยตลอด และหากต้องการทานควรขอคำแนะนำจากแพทย์ ที่สำคัญต้องทานให้พอดีกับความต้องการของร่างกาย
เครดิตภาพ : www.shutterstok.com
อ่านต่อที่ ประเภทของสมุนไพร