
สมุนไพรนานาชนิดล้วนแล้วแต่มีคุณค่าและประโยชน์ในตัวเอง ที่ทำให้เราสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ ทั้งใช้ในการประกอบอาหาร รวมทั้งยังเป็นยารักษาโรคที่มากด้วยคุณภาพ เนื่องจากสรรพคุณที่ซ่อนไว้หลายหลากอย่างลงตัว เช่น สมุนไพร กระชายดำ ซึ่งถ้าฟังแค่ชื่ออาจดูไม่น่ากินเท่าไรนัก ในทางตรงกันข้ามหากได้ศึกษาเกี่ยวกับสรรพคุณทางยาแล้ว กระชายดำ จัดเป็นยาขนานเอกที่จะช่วยถอนพิษต่างๆในร่างกายได้ดี นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทุกส่วนของสมุนไพรที่ว่านี้มาป้องกัน บรรเทาอาการต่างๆของโรคได้
จากการเกิดโรคระบาดจากไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้ทุกคนให้ความสำคัญกับสมุนไพรใกล้ตัวมากยิ่งขึ้นทั้งยังมีการสกัดเป็นยาช่วยบรรเทาอาการหวัดที่ไม่รุนแรงอีกด้วย ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากมีการศึกษาวิจัยจากผู้เชียวชาญว่าสามารถป้องกันและชะลอการเข้ามาในร่างกายของไวรัสได้ เพราะกระชายดำเป็นสมุนไพรที่ใช้บำรุงร่างกาย บำรุงปอดให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังช่วยสร้างภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติให้กับร่างกายได้ไม่น้อยเลย และยังเป็นสมุนไพรที่ทำให้วงการแพทย์ทั่วโลกต้องหันมาสนใจศึกษาเกี่ยวกับสารต่างๆที่มีอยู่ในกระชายดำ เพื่อค้นคว้าและวิจัยสารสกัดที่ซ่อนอยู่ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อการใช้ประโยชน์ที่ถูกวิธี
ข้อมูลทั่วไป
กระชายดำ มีลักษณะทั่วไป ดังนี้
กระชายดำ (Finger root) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Kaempferia parviflora Wallioh.ex Baker. เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า เหง้า รากติดเป็นกระจุก เป็นที่สะสมอาหาร อวบน้ำ ทรงกระบอก ปลายเรียวแหลม ผิวสีน้ำตาลอ่อน กลิ่นหอม เนื้อเหลือง

ใบ มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รียาว กว้าง 4.5 – 10 เซนติเมตร ยาว 15 – 30 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบและแผ่นใบเรียบ ก้านใบยาว 7 – 25 เซนติเมตร กายใบสีชมพู ดอกเป็นช่อ โดยออกแทรกระหว่างกาบใบ ใบประดับสีม่วงแดงเรียงทแยงกัน กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 7 แฉก กลีบดอกปลายแยก 3 แฉก ปลายช่อดอกจะบานน้อย กลีบดอกสีขาวหรือสีขาวอมชมพู บานทีละดอก แยกเป็น 2 กลีบ เกสรตัวผู้เป็นหมันบริเวณด้านข้าง 2 อัน รูปรีสีขาวอมชมพู ผลรี แตกออกเป็น 3 ซีก
สรรพคุณและประโยชน์ของกระชาย
ลักษณะทั่วไปของกระชายดำ เมื่อทราบแล้วก็ทำให้เข้าใจได้ว่า ทำไมพืชชนิดนี้จึงมีลักษณะเป็นเหง้า แต่สรรพคุณและประโยชน์จะมีอะไรบ้างนั้น ควรศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพื่อการใช้ประโยชน์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งสรรพคุณของกระชายดำ มีดังนี้
1 ใช้รักษาโรคบิด แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
2 ใช้บำรุงกำลัง
3 ใช้รักษาแผลในปาก
4 ใช้แก้อาการปวดเมื่อย
5 ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
6 ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
7 ใช้ขับระดูขาว

8 ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ
9 ใช้แก้อาการมดลูกหย่อน
10 ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเพศหญิง
11 ช่วยบำรุงระบบหมุนเวียนเลือดและช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน
12 ช่วยแก้ปัญหาเชื้อราและโรคผิวหนัง
ประโยชน์ของกระชายดำ
นอกจากสรรพคุณที่ได้กล่าวแล้วนั้นกระชายดำ ยังมีประโยชน์ ดังต่อไปนี้
1 ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง
2 ช่วยป้องกันการเกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น เนื่องจากขาดคอลลาเจน
3 ช่วยบำรุงหลอดเลือด
ข้อควรระวังในการรับประทานกระชายดำ
สมุนไพรต่างๆ มีทั้งคุณและโทษ ทั้งนี้ควรทานในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งมีข้อควรระวังในการทานดังนี้
1 ไม่ควรทานติดต่อกันนานเกินไป เพราะอาจทำให้เหงือกร่น
2 ผู้ป่วยโรคตับห้ามใช้
3 ไม่ควรรับประทานมากเกินไปเพราะอาจทำให้ใจสั่นได้
4 การทานสารสกัดจากกระชายดำ ควรทานตามคำแนะนำของแพทย์
5 หากมีอาการแพ้ เช่น ผิวหนังบวมแดง หายใจลำบาก ควรหยุดใช้แล้วไปพบแพทย์

กระชายดำพืชสมุนไพรที่ใครๆ ต่างชื่นชมในสรรพคุณขณะเดียวกันก็ควรระวังการบริโภคกระชายดำด้วย เพื่อป้องกันระวังอาการที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกายได้ เนื่องจากหากใช้ในปริมาณที่เกินพอดีอาจส่งผลให้สมุนไพรที่ว่าดีนั้น กลายเป็นสารพิษร้ายแรงที่สามารถส่งผลต่อตัวผู้บริโภคในระยะยาว อย่างไรก็ตาม กระชายดำ ยังสามารถนำมาปรุงอาหารเพื่อช่วยดับกลิ่นคาว เช่น คาวปลา แถมยังเพิ่มรสชาติที่เอร็ดอร่อยผสานกับความเผ็ดร้อนกำลังดี หรือจะนำมาทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรที่ช่วยไล่ ไวรัสชนิดต่างๆได้อย่างดีทีเดียว
เครดิตภาพ : www.shutterstok.com
อ่านต่อที่ พืชสมุนไพร