
พืชสมุนไพรที่ดูเหมือนจะไม่มีคุณค่าและมักไม่เข้าตาใครหลายคน แถมยังเป็นพืชอีกหนึ่งตัวที่มีสารที่อาจทำให้เกิดความมึนเมาอย่างมาก จึงมักอยู่นอกสายตาผู้คนอยู่บ้าง แต่ในไม่ดีนั้นก็มีดีและมีคุณค่าอันอเนกอนันต์ ในการที่มีสารที่สามารถนำมาสกัดเป็นยารักษาโรค สมุนไพรที่ว่านี้เห็นจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก กัญชา สมุนไพรที่มีสารในการรักษาโรคและสารเสพติด ซึ่งข้อนี้ประเทศไทยถือเป็นข้อห้ามอย่างชัดเจน แต่ขณะนี้ได้มีการปลดล็อกกัญชา สามารถนำมาใช้ได้อย่างเสรีด้วยแล้ว กัญชาจึงเป็นหนึ่งในพืชที่ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันทั่วโลกเพราะสรรพคุณดีๆ ที่อาจคาดไม่ถึง
ข้อมูลทั่วไป
กัญชา( Marijuana, Marihuana,Ganja,Hashish,Reeter) ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Cannabis Sativa Subsp.indica (Lan) พืชที่มีมาตั้งแต่ครั้งโบราณ พืชชนิดนี้ชอบอากาศค่อนข้างอบอุ่น มีถิ่นกำเนิดบริเวณเขตอบอุ่นของทวีปเอเชียและยุโรป เช่น บริเวณตอนใต้ของเทือกเขาหิมาลัยและบริเวณทิศตะวันตกของไซบีเรีย สำหรับประเทศไทยมีการปลูกกันมากบริเวณภาคเหนือ อาจเป็นเพราะสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการปลูก
กัญชามีลำต้นตรง สูง 1- 3 เมตร ใบเดี่ยวรูปฝ่ามือ แตกออกเป็นแฉก ประมาณ 5-8 แฉก รูปยาวรี ปลายและโคนสอบ กว้าง 0.3 – 1.5 เซนติเมตร ยาว 6 – 10 เซนติเมตร ดอกมีทั้งเพศผู้และเพศเมียภายในต้นเดียวกัน ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด กัญชา จะมีเมล็ดเดี่ยว รูปไข่ป้อมผิวเรียบเป็นมันมีลายสีน้ำตาล
สายพันธุ์กัญชา
สายพันธุ์กัญชา มี 3 สายพันธุ์ ซึ่งลักษณะของแต่ละพันธุ์ มีดังนี้
1 ซาติวา (Cannabis sativa) ลำต้นหนา สูงประมาณ 6 เมตร ใบยาว เรียว สีเขียวอ่อน ชอบแสงแดดและอากาศร้อน ช่วงเวลาที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ คือ 9 – 16 สัปดาห์
2 อินดิกา (Cannabis indica ลำต้นเตี้ยเป็นพุ่ม สูงประมาณ 180 เซนติเมตร ใบกว้าง สั้น สีเขียวเข้ม กิ่งก้านดกหนา ชอบอยู่ในที่ร่มและอากาศเย็น ช่วงเวลาที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ คือ 6-8 สัปดาห์
3 รูเดอราลิส (Cannabis ruderalis) ลำต้นเตี้ยที่สุดใน 3 สายพันธุ์ คล้ายวัชพืช ใบกว้างมี 3 แฉก เติบโตเร็ว พันธุ์นี้อยู่ได้ทั้งอากาศร้อนและเย็น
กัญชาทั้ง 3 สายพันธุ์นี้นั้นเป็นกัญชาที่ได้รับความนิยมและมีการใช้ประโยชน์เรื่อยมา จนได้รับอนุญาตตามกฎหมายให้ปลูกได้ภายในบ้าน
นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีกัญชาสายพันธุ์หางกระรอกอีกหนึ่งสายพันธุ์ด้วย สำหรับกัญชาสายพันธุ์หางกระรอก มีรายละเอียดดังนี้
กัญชาพันธุ์หางกระรอก มีลักษณะเรียวยาวเป็นแท่งตรงคล้ายแท่งไม้ เติบโตได้ดีในสภาพอากาศชื้น ดินและแสงแดดที่เหมาะสม เป็นสายพันธุ์แท้ดั้งเดิมที่มีขึ้นอยู่ตามธรรมชาติแถบเทือกเขาภูพาน จังหวัดสกลนคร มาตั้งแต่สมัยโบราณก่อนที่จะถูกกำหนดให้เป็นสิ่งเสพติด
สารที่พบในกัญชา

กัญชาเป็นพืชที่มีสารในตัวเองซึ่งมีประโยชน์มากๆ ทางการรักษาโรคหรือเรียกอีกอย่างว่ามีคุณค่าทางยา ซึ่งสารที่พบในกัญชา ได้แก่ สารประกอบกลุ่มแคนนาบินอยด์ ( Canna binoid ) และสาร THC ( Tetrahydrocannabinol) ซึ่งสารที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้ คือ สาร CBD ( Cannabidiol) ซึ่งสารตัวนี้มีประโยชน์ ดังนี้
- ช่วยทำให้เกิดการผ่อนคลายและลดความวิตกกังวล
- ช่วยลดอาการปวด
- ช่วยให้นอนหลับสนิท
สารอีกหนึ่งตัวที่พบในกัญชากลุ่มนี้ คือ สาร THC ( Tetrahydrocannabinol) หรือ สารเมา เป็นสารที่มีผลต่อระบบประสาท หากร่างกายได้รับสารตัวนี้มากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการต่างๆ ได้ โดยอาจมีอาการ ดังต่อไปนี้
- ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
- ประสารทหลอน
- สมองอาจทำงานช้าลงอย่างกะทันหัน
ประโยชน์และสรรคุณของกัญชา
ประโยชน์ของกัญชา
กัญชาถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการถักทอเป็นเส้นใย รวมถึงใช้เป็นเชือกมัดสิ่งของตั้งแต่อดีต นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณในทางยา สำหรับการใช้เป็นยารักษาโรคอีกด้วย
สรรพคุณของกัญชา
สำหรับสรรพคุณของกัญชา มีดังต่อไปนี้
1 ช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนจากการทำเคมีบำบัด
2 ช่วยในการรักษาโรคลมชัก
3 ช่วยลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ สำหรับผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
- ช่วยลดอาการปวดประสาท
- ช่วยลดอาการเบื่ออาหารในผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV ที่มีน้ำหนักตัวน้อย
- ช่วยควบคุมอาการของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน อัลไซเมอร์
นอกจากนี้ กัญชา ยังมีสรรพคุณทางการรักษาโรค ดังนี้
- ช่วยให้เจริญอาหาร
- ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ
- ช่วยรักษาอาการลมชัก
- ใช้เป็นยาแก้ไข้ผอมเหลือง
5 ช่วยบรรเทาอาการมือเท้าอ่อนแรง
6 ใช้เป็นยารักษาอาการริดสิดวงทวารหนัก
- ใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง
ปัจจุบันมีการนำกัญชามาสกัดเป็นยาหยดใต้ลิ้น และมีการผลิตออกมาในรูปแบบของน้ำมันกัญชา
ข้อควรรู้เกี่ยวกับกัญชา
เมื่อ กัญชา ได้รับการปลดล็อกให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างอิสระ เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้กัญชาด้วย ซึ่งมีข้อควรใช้และข้อห้าม ดังนี้
- สามารถสูบกัญชาได้ ยกเว้นที่สาธารณะ
- ขายส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นกัญชาได้ ไม่ผิดกฎหมาย
- ปลูกกัญชาที่บ้านได้
- สามารถใช้เป็นส่วนผสมในอาหารได้
- ห้ามใช้สารสกัด THC เกิน 0.2 %
- ห้ามนำเข้าต้นกัญชา
ข้อควรระวังเกี่ยวกับกัญชา
ผู้ที่ไม่ควรใช้สารสกัดจากกัญชา ได้แก่ ผู้ที่มีอาการแพ้จากการใช้สารสกัดกัญชา หญิงตั้งครรภ์
ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด และผู้ที่ติดสารเสพติดและสุรา
กัญชาไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ใด มักมีสารที่ทำให้เกิดความเคลิบเคลิ้มได้มากกว่าพืชชนิดอื่น นอกจากนี้ กัญชา ยังมีฤทธิ์ทางยาที่ช่วยในการรักษาโรคต่างๆได้ ทั้งนี้ควรระมัดระวังหากใช้ในปริมาณที่มากเกินไป ด้วยเหตุนี้จึงได้รับการอนุญาตตามกฎหมายเพื่อการรักษาโรคและอาจเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่นำเม็ดเงินเข้าประเทศได้อย่างมหาศาล

เครดิตภาพ : WWW.123rf.com
อ่านต่อที่ ประเภทของสมุนไพร