
สมุนไพรที่สามารถนำมาแปรรูปได้ทั้งอาหาร เครื่องดื่มและยารักษาโรคได้นั้นมีหลายอย่าง แต่ที่มีความอร่อย กลมกล่อม แถมเป็นยาในตัวเดียวกันได้นั้นเห็นจะเป็นใครไปไม่ได้เลยนอกจาก ชาเขียว ที่ไม่ว่าจะนำมาประกอบอาหารหรือนำมาทำเครื่องดื่มก็กลายเป็นอาหารชั้นเลิศ รสชาติอร่อย พร้อมทั้งช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรงอีกด้วย ยิ่งเป็นชาเขียว ยอดอ่อนด้วยแล้วคุณค่ามากมายนัก และปัจจุบันมีการนำชาเขียวมาสกัดเป็นยาเพื่อการรักษาโรคด้วย
ข้อมูลทั่วไป
ชาเขียวเป็นหนึ่งในพืชที่มักชอบอากาศเย็นถึงหนาว มักปลูกบนที่ราบสูงหรือพื้นที่ที่เป็นภูเขา เนื่องจากมีอากาศเย็น ซึ่งลักษณะทั่วไปของชาเขียว มีดังนี้
ชาเขียว(Green Tea) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Comellia sinensis เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กทรงพุ่มรูปกรวย สูงประมาณ 30 ฟุต

ใบชาเขียว ใบเป็นใบเดี่ยว ใบสลับ 1 ใบ ต่อ 1 ข้อ โดยพัฒนามาจากตาที่มุมใบ ขอบใบหยักพันเลื้อย ปลายใบแหลม แผ่นหนาใบเป็นมัน ใต้ใบมีขนอ่อนปกคลุม ใบยาว 7 -30 เซนติเมตร
ดอกชาเขียว ออกดอกระหว่างลำต้นและใบ มีทั่งดอกเดี่ยวและดอกที่ออกช่อ ดอกชาเขียวเป็นดอกสมบูรณ์เพศ เกสรตัวผู้มีจำนวนมากสีเหลือง ก้านเกสรยาว 8 – 10 มิลลิเมตร อับเกสรมี 2 ช่อง ก้านชูเกสรตัวเมียสั้น ยอดเกสรตัวเมียมี 3 – 5 ยอด กลีบดอกสีขาว มี 5 – 8 กลีบ ลักษณะโค้งเว้า
ผลชาเขียว เป็นแคปซูล เปลือกหนาสีน้ำตาลอมเขียว มี 2 ช่อง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 – 20 เซนติเมตร ระยะเวลา 9-12 เดือน ซึ่งเก็บเกี่ยวผลผลิตได้
เมล็ดชาเขียว ชาเขียวมีเมล็ดกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8 – 1.6 เซนติเมตร มีใบเลี้ยง 2 ใบ อวบหนา น้ำมันเยอะเพื่อหุ้มต้นอ่อน ผนังเมล็ดแข็งหนาติดกันกับเปลือกหุ้มเมล็ด เมล็ดจะงอกภายใน 2 – 3 สัปดาห์
รากชาเขียว ชาที่ได้รับการเพาะเมล็ดจะมีรากแก้วและรากฝอยหาอาหาร บริเวณรากจะมีการสะสมของคาร์โบไฮเดรตในรูปของแป้ง โดยทั่วไปต้นชาจะงอกจากเมล็ดที่รากลึกประมาณ 1.5 เมตร หรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับชนิดของชาและสภาพของดิน
เมื่อทราบเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของชาเขียวแล้ว ก็ควรทราบเกี่ยวกับสรรพคุณ ประโยชน์ และข้อควรระวังของ ชาเขียวเพื่อการบริโภคอย่างถูกวิธี
สรรพคุณของชาเขียว
ชาเขียวมีสรรพคุณในการรักษาโรคและช่วยเพิ่มความสดชื่นได้เมื่อจิบชา แถมยังมีคุณค่าในการทานแทนอาหารมื้อหลัก หรือจะนำมาเป็นส่วนผสมในอาหารต่างๆก็ได้ ซึ่งสรรพคุณของชาเขียวมีดังต่อไปนี้
1 ช่วยในการบำรุงปอดและม้าม
2 ช่วยแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอ
3 ช่วยในการย่อยอาหาร
4 ช่วยขับปัสสาวะ
5 ช่วยแก้พิษ
6 ช่วยลดอาการปวดศรีษะ
7 ช่วยกระตุ้นหัวใจ ช่วยแก้โรคหัวใจบวมน้ำ
8 ช่วยขับปัสสาวะ
9 ช่วยต้านเชื้อ
10 ช่วยแก้ปากเป็นแผล
11 ช่วยแก้อาการตับอักเสบ
12 ช่วยแก้อาการท้องเสีย
13 ช่วยแก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน
14 ช่วยรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

เนื่องจากชาเขียวเป็นพืชที่นำมาทำเป็นเครื่องดื่มโดยไม่ผ่านการหมัก ทำให้มีสารต้านอนุมูลอิสระอย่างสารโพลีฟีนอลและสารคาเจซีนมากกว่าชาชนิดอื่น นอกจากนี้ ชาเขียว ยังเป็นยารักษาโรคได้อีกด้วย ดังต่อไปนี้
1 ยับยั้งสารอนุมูลอิสระ
2 ต้านมะเร็ง เช่น มะเร็งผิวหนัง มะเร็งปอด มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งเต้านม มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น
3 ช่วยยับยั้งการทำงานของท่อดูดซึมน้ำในไต

4 ลดอินซูลินและลดคอเลสเตอรอล
5 ช่วยลดความอ้วน
การดื่ม ชาเขียว ควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสม โดยควรใช้ใบชาเพียง 1- 2 ช้อนชา ชงในน้ำร้อน วันละ 3 แก้ว ระหว่างมื้ออาหาร
ข้อควรระวังในการดื่มชาเขียว
1 ผู้ที่นอนไม่หลับไม่ควรรับประทาน
2 ผู้ที่เป็นโรคหัวใจไม่ควรดื่มมากเกินไป
3 ผู้ที่เป็นแผลในกระพาะอาหารห้ามดื่มชาเขียว
ชาเขียว เป็นพืชสมุนไพรที่สามารถนำมาเป็นเครื่องดื่ม รวมถึงใช้เป็นยารักษาโรคได้ ทั้งนี้ควรระมัดระวังในการดื่มชาเขียวให้มีปริมาณที่พอเหมาะเพื่อไม่ให้เกินความต้องการของร่างกาย เนื่องจากหากทานในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้อาการหนักโดยฉับพลันได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวหากต้องการดื่ม ชาเขียว ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้ทำการรักษาก่อน
เครดิตภาพ : www.123rf.com
อ่านต่อที่ ประเภทของสมุนไพร