
อบเชย เป็นชื่อหนึ่งของเครื่องเทศที่ได้รับความนิยมและขึ้นชื่อในเรื่องของกลิ่นที่หอมหวนชวนลิ้มลอง ที่มาจากเปลือกไม้ของ อบเชย มักนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการปรุงอาหารสำหรับอาหารที่จะขาดเครื่องเทศชนิดนี้ไม่ได้ เพื่อช่วยเพิ่มอรรถรสในการทานอาหารเพิ่มมากขึ้น
ข้อมูลทั่วไป
อบเชย (Cinnamon) ทีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ( Cinnamomum Iners Reinw.ex Blume) อบเชย มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด แตกต่างกันไปตามแหล่งเพาะปลูก ซึ่งแต่ละชนิดมีคุณสมบัติหรือสรรคุณทางยาที่ค่อนข้างใกล้เคียงกัน จึงนำมาใช้แทนกันได้ ซึ่งอบเชยที่มีคุณภาพจนสามารถสร้างชื่อให้กับพันธุ์ของตนเองได้ คือ อบเชยพันธุ์ศรีลังกา สำหรับข้อมูลของอบเชยพันธุ์ต่างๆ มีดังต่อไปนี้
อบเชยเทศ หรือ อบเชยลังกา ( Ceylon cinnamon ) เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ เปลือกลำต้นเป็นสีเทาและหนา กิ่งขนานกับพื้นและตั้งชันขึ้น ใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันตามลำต้น ใบเป็นรูปไข่หรือรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ มีเส้นใบ 3 เส้น ใบค่อนข้างหนา ผิวใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง มีดอกขนาดเล็กสีเหลืองกลิ่นหอม ผลเป็นสีดำคล้ายรูปไข่ ผิวเปลือกเรียบบาง หนาประมาณ 2- 3 มิลลิเมตร
อบเชยจีน (Chinese cassia) พบในมณฑลกวางสี ยูนนาน และกวางตุ้ง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีขนาดสูงประมาณ 10 – 15 เมตร เปลือกลำต้นหนาเป็นสีเทาเข้ม มีรอยแตกตามยาว เปลือกลำต้นเป็นรูปกลมรี เนื้อในเปลือกเป็นสีแดงเข้ม กลิ่นหอม รสหวาน ตามกิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม และลำต้นสูงมากกว่าอบเชยเทศ เปลือกหนา สีเข้มกว่าอบเชยเทศ ใบเป็นรูปรีปลายแหลม ขอบใบเรียบ ออกเรียงสลับ ใบกว้างประมาณ 4 – 5.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 8 – 20 เซนติเมตร เนื้อใบหนา มีเส้นใบตามยาว 3 เส้น หลังใบเขียวผิวเรียบมัน ท้องใบสีเขียวอมเทา มีขนปกคลุมเล็กน้อย ก้านใบยาว 1- 2 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งหรือง่ามใบ ก้านช่อดอกยาว 10 – 19 เซนติเมตร ดอกสีเหลืองอมเขียว กลีบดอกมี 6 กลีบ คล้ายรูปหัวใจ ยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 3 มิลลิเมตร กลางดอกมีเกสรเพศผู้ ผลรี เปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้มเมื่อสุก
อบเชยญวน (Cinnamon) เป็นไม้ยืนต้น ใบเดี่ยวค่อนข้างบาง ยาว เรียว ปลายใบแหลม ดอกและผลมีขนาดเล็ก รสหวาน ประเทศไทยส่องออกอบเชยญวนเป็นหลัก
อบเชยชวา (Indonesian cassia) เป็นไม้ยืนต้น ใบยาวเรียว ปลายใบแหลม ดอกและผลมีขนาดเล็ก กลิ่นหอมน้อยกว่าอบเชยเทศ
อบเชยไทย ( Cinnamom) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ทรงพุมกลม หรือเป็นรูปเจดีย์ต่ำ เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทาเรียบเกลี้ยง สูงประมาณ 15 – 20 เซนติเมตร เปลือกและใบมีกลิ่นหอม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันหรือเยื้องกันเล็กน้อย ใบเป็นรูปขอบขนาน กว้าง 2.5 – 7.5 เซนติเมตร ยาว 7.5 – 25 เซนติเมตร แผ่นใบหนา เกลี้ยง แข็ง เส้นใบออกจากโคนมี 3 เส้น ยาวตลอดจนถึงปลายใบ ด้านล่างเป็นคราบขาว ก้านใบยาว 0.5เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อกระจายที่ปลายกิ่ง ยาว 10 – 25 เซนติเมตร มีดอกขนาดเล็กสีเหลืองอ่อนหรือสีเขียวอ่อน ผลเป็นรูปขอบขนาน ยาว 1 เซนติเมตร ผลแข็ง ตามผิวผลมีคราบขาว มีเมล็ด 1 เมล็ด

อบเชย เป็นเครื่องเทศที่ได้มาจากการขูดเปลือกนอกออกหมด แล้วลอกเปลือกชั้นในออกจากแก่นลำต้น ใช้มีดกรีดตามความยาวกิ่ง แล้วนำไปตากแดดสลับกับการผึ่งในที่ร่ม 5 วัน ขณะตากให้ใช้มือม้วนให้ขอบทั้งสองข้างเข้าหากัน เปลือกอบเชยที่ดีจะต้องเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีสนิม มีความตรงและความยาวสม่ำเสมอ มีกลิ่นเฉพาะตัว รสเผ็ด หวาน เล็กน้อย
สรรพคุณของอบเชย
อบเชย มีสรรพคุณทางยา เนื่องจากมีแทนนินสูง ที่ให้รสฝาด จึงนิยมใช้ในยาแผนโบราณ โดยนำมาเป็นส่วนผสมของยาหอมต่างๆ ซึ่งแต่ละส่วนของอบเชยมีสรรพคุณ ดังนี้
1 เปลือกต้นและเนื้อไม้มีรสเผ็ด หวาน กลิ่นหอม เป็นยาที่มีฤทธิ์ร้อน ช่วยส่งผลต่ออวัยวะในร่างกาย เช่น ไต ม้าม กระเพาะปัสสาวะ ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดี
2 เปลือกต้นนำมาผสมเป็นยาหอม ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย

3 ใบ อบเชย ช่วยในการบำรุงธาตุต่างๆ
4 ราก ช่วยดับพิษร้อนได้
5 เปลือกต้นอบเชยจีน มีรสเผ็ดอมหวาน มีฤทธิ์ร้อน ช่วยในการบำรุง ตับ ไต ม้าม หัวใจ
6 ผงอบเชยช่วยลดความดันโลหิต
7 ช่วยให้เจริญอาหาร
8 ช่วยเพิ่มอินซูลินในร่างกาย
9 ช่วยแก้อาการหวัด แก้ไอ
10 ช่วยแก้อาการปวดฟัน
11 ช่วยแก้ลมอัมพฤกษ์
สรรพคุณของอบเชยยังมีอีกมาก ที่ยกมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น
นอกจากนี้ต่างประเทศยังนิยมนำอบเชยมาใส่ในกาแฟ เนื่องจากช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานได้สูงขึ้น ส่วนประโยชน์อื่นๆ ที่มี อบเชยเป็นส่วนประกอบ คือ ใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องแกงและใช้เป็นส่วนผสมในอาหารหวานอีกด้วย
อย่างไรก็ตามการใช้ อบเชยยังมีสิ่งที่ต้องระวัง สำหรับผู้ที่ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขัด เป็นโรค ริดสีดวง อุจจาระแข็ง แห้ง และหญิงมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน อบเชย
การทานสมุนไพรหรือเครื่องเทศให้ได้ผลดีควรทานแต่พอดี มีความพอเหมาะ หรือถ้าต้องการนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการประกอบอาหารควรกะปริมาณให้พอดีกับอาหาร เพื่อช่วยเพิ่มความกลมกล่อมให้น่าลิ้มรส ที่มาพร้อมความหอมจากกลิ่นเครื่องเทศที่ชวนหลงใหล
เครดิตภาพ : www.123rf.com
อ่านต่อที่ 10 สมุนไพรแก้ไอ ขจัดเสมหะ ของดีใกล้คุณ