สมุนไพรของไทยมีหลายชนิดหลากประเภท เพื่อให้เรานำมาใช้ประโยชน์ด้านการปรุงอาหารและรักษาโรคไปพร้อมกัน เช่น ขมิ้นชัน ที่มีสรรพคุณในการบรรเทาอาการต่างๆของร่างกายได้ดี ไม่ว่าจะเป็นการขับลม ช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ตลอดจนอาการอื่นอีกนับไม่ถ้วน นอกจากนี้บางคนยังนำมาผลิตเป็นเครื่องสำอางประทินผิว ขมิ้นชัน จึงเป็นสมุนไพรที่ช่วยในเรื่องอาหารการกินและเครื่องสำอางเพื่อให้ผิวนุ่มชุ่มชื่นตลอดวัน
ข้อมูลทั่วไปของขมิ้นชัน
ขมิ้นชัน (Turmeric) ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma Longa ขมิ้นมีลักษณะเป็นเหง้าซึ่งในเหง้ามี Linn ซึ่งเป็นสารประกอบสำคัญที่สามารถนำเหง้าขมิ้นมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยได้ นอกจากนี้ยังสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ทั้งยังช่วยลดอาการอักเสบต่างๆ รวมทั้งบรรเทาอาการจุกเสียดด้วย
ขมิ้นชัน เป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ลำต้นสูงประมาณ 50 – 70 เซนติเมตร เนื้อมีสีเหลืองอมส้ม กลิ่นหอม ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่รูปหอกแกมขนานกัน กว้าง 8 – 10 เซนติเมตร ยาว 30 – 40 เซนติเมตร ก้านใบยาว 8 – 15 เซนติเมตร ใบแคบมีร่องแผ่กรีออกเล็กน้อย ดอกออกเป็นช่อใหญ่ ซึ่งก้านช่อจะพุ่งออกมาจากใต้ดิน ก้านช่อดอกยาว 5 – 8 เซนติเมตร ปลายช่อดอกสีชมพูอ่อน
การปลูกและขยายพันธุ์
เตรียมหลุมลึกประมาณ 20 – 30 เซนติเมตร โดยยกร่องสูงประมาณ 25 เซนติเมตร กว้าง 45 – 50 เซนติเมตร ท่อนที่นำมาทำพันธุ์ควรมีอายุ 1 ปี ก่อนปลูกควรแช่ท่อนพันธุ์ด้วยน้ำยากันรากเน่า ในร่องควรใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ควรปลูกช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ระยะเวลาปลูกอยู่ที่ 9 – 10 เดือน จึงเก็บเกี่ยวได้
สรรพคุณของขมิ้นชัน
ขมิ้นชัน มีสรรพคุณในการป้องกันและบรรเทาโรคมากมาย อีกทั้งยังเป็นสมุนไพรชั้นยอดที่มีความเหมาะสมกับการบำรุงร่างกายทุกส่วนให้ปลอดภัยและห่างไกลโรค สำหรับสรรพคุณของขมิ้นชัน มีหลายประการดังต่อไปนี้
1 ป้องกันมะเร็งลำไส้
2 รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
3 รักษาโรคผิวหนัง เช่น ผื่นคัน กลาก เกลื้อน
4 ใช้รักษาแผลสด ช่วยห้ามเลือด
5 ช่วยขับระดู และแก้ปัญหาประจำเดือนเป็นก้อนสีดำได้
6 ช่วยขับลม
7 ช่วยรักษาอาการตาแดง
8 ช่วยขับเสมหะในลำคอ
9 ช่วยป้องกันโรคหนองใน(เหง้า)
10 รักษาริดสีดวงทวาร
11 รักษาผมหงอก ผมร่วง ผมคัน
12 ช่วยขับปัสสาวะ
13 ช่วยรักษาอาการท้องบวม
ประโยชน์ของขมิ้นชัน
นอกจาก ขมิ้นชัน จะช่วยบรรเทาอาการของโรคต่างๆได้แล้วยังช่วยในการบำรุงอวัยวะของร่างกาย ช่วยให้โรคที่เป็นอยู่มีอาการทุเลาลงได้ ด้วยการใช้ประโยชน์จากส่วนต่างๆของขมิ้นจากหลายส่วน ดังนี้
1 แง่งขมิ้น ต้มเอาแต่น้ำแล้วนำมาดื่ม ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ ช่วยรักษาอาการท้องร่วง บิด
2 ผงขมิ้น นำมาผสมกับน้ำมันมะพร้าว ตั้งไฟอ่อนแล้วเคี่ยวจนเป็นน้ำมันสีเหลือง นำมาพอกบริเวณที่ปวดเมื่อย แก้เคล็ดขัดยอก
3 ผงขมิ้นผสมน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอน ทานก่อนอาหารช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร
4 ผงขมิ้นละลายน้ำแก้ไข้
5 ผงขมิ้นนำมาทำครีมสมุนไพร ทาผิว เพื่อลดรอยเหี่ยวย่นและจุดด่างดำ ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหน้า
เรื่องควรรู้ของขมิ้นชัน
ขมิ้นชันได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ทั้งยังมีการผลิตออกมาในรูปแบบของแคปซูล ทำให้ได้รับความนิยมในการกินเพื่อรักษาและบรรเทาอาการซึ่งทดแทนกันได้กับยาแผนปัจจุบัน จึงมั่นใจได้ว่า ขมิ้นชันเป็นสมุนไพรที่มีความปลอดภัยสูง จึงได้รับการรับรองดังกล่าว
พืชสมุนไพรของไทยเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากมายจนบางครั้งเราอาจคาดไม่ถึง หากจะซื้อควรเลือก ขมิ้นชัน ที่มีบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับรองตามมาตรฐานสากล การบริโภคควรทานในปริมาณที่พอเหมาะ แต่ไม่ควรทานติดต่อกันเป็นเวลานาน ทั้งนี้ก่อนทานควรได้รับคำแนะนำจากเภสัชกร หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้วย
ขมิ้นชัน สมุนไพรใกล้ตัวมีสรรพคุณในการช่วยบรรเทาโรคมากมาย เป็นสิ่งที่คนไทยไม่ควรมองข้ามสมุนไพรบ้านๆแต่มีคุณค่ามหาศาลที่ช่วยให้อาการของโรคลดลงได้ นอกจากนี้ยังมีการนำ ขมิ้นชัน มาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยด้วย เนื่องจากบริเวณเหง้าเล็กๆ มีสารเหล่านี้ เช่น น้ำมันระเหย กลิ่นหอมชื่นใจของสมุนไพร ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ได้สารสกัดที่มีประโยชน์และคุณค่ามากมายแล้ว ยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสมุนไพรไทยได้ดังไกลไปทั่วโลกด้วย นอกจากนี้ยังมีการผลิตเป็นเครื่องสำอางรูปแบบต่างๆอีกด้วย ผลตอบรับก็ดีเกินคาด ด้วยประโยชน์และสรรพคุณของสมุนไพรชนิดนี้ที่สร้างชื่อเสียงให้กับตัวเองในแบบที่ทุกคนต้องให้การตอบรับอย่างดีเยี่ยม
เครดิตภาพ : 123rf.com
อ่านบทความ : ย่านาง สรรพคุณสุดมหัศจรรย์ สารพัดคุณค่าทางยา